วงศ์ : Solanaceae ชื่ออื่น : มะแคว้ง มะแคว้งขม มะแคว้งคม มะแคว้งดำ (ภาคเหนือ) แว้งคม (สงขลา, สุราษฎร์ธานี) สะกั้งแค (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) หมากแฮ้งคง (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 1-1.5 เมตร เปลือกต้นเรียบสีน้ำตาล ยอดอ่อนและต้นอ่อนมีขนสีขาว ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปไข่หรือขอบขนาน กว้าง 4-10 ซม. ยาว 6-12 ซม. ปลายใบและโคนใบมน ขอบใบหยักเว้า แผ่นใบสีเขียว มีขนนุ่ม ก้านใบยาว ดอก ออกเป็นช่อตามกิ่งหรือซอกใบ ดอกย่อยมี 5-10 ดอก ดอกสีม่วง กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 5 แฉกแหลม ด้านนอกมีขน กลีบดอกมี 5 กลีบ รูปไข่ ปลายแหลม เกสรเพศผู้สีเหลือง ติดกันเป็นรูปกรวย ผล รูปทรงกลม ขนาด 1 ซม. ผิวเรียบ ผลดิบสีเขียวไม่มีลาย ผลสุกสีส้ม เมล็ดแบนจำนวนมาก
ส่วนที่ใช้ : ราก ทั้งต้น ใบ ผล
สรรพคุณ :
ราก - แก้เสมหะ น้ำลายเหนียว แก้ไอ แก้ไข้สันนิบาต แก้โลหิตออกทางทวารหนัก ทวารเบา ทั้ง
ต้น - แก้โลหิตออกทางทวารหนัก ทวารเบา
ใบ - บำรุงธาตุ แก้วัณโรค แก้ไอ
ผล - บำรุงน้ำดี รักษาโรคเบาหวาน แก้ไอ แก้เสมหะ แก้น้ำลายเหนียว แก้คอแห้ง ขับปัสสาวะ รักษาโรคทางไต และกระเพาะปัสสาวะ แก้โลหิตออกทางทวารหนัก ทวารเบา
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
ใช้เป็นยาขมเจริญอาหาร แก้ไอ และแก้โรคหอบหืด ใช้มะแว้งต้น ผลแก่ ในเด็ก ใช้ 2-3 ผล
ใช้เป็นน้ำกระสายยา กวาดแก้ไอ ขับเสมหะ ผู้ใหญ่ ใช้ 10-20 ผล รับประทาน เคี้ยว แล้วกลืนทั้งน้ำและเนื้อ รับประทานบ่อยๆ จนกว่าอาการจะดีขึ้น ใช้ลดน้ำตาลในเลือด รักษาเบาหวาน ใช้มะแว้งต้นโตเต็มที่ 10-20 ผล รับประทานเป็นอาหารกับน้ำพริก
ที่มา :: http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_08_5.htm